จากการยกตัวอย่าง แสดงว่าเจ้าของร้านต้องเข้าไปจัดการที่สินค้าที่ต้องการใช้เป็นสินค้าหลัก ในที่นี้คือสินค้า “จานข้าวเด็ก” และเปิดใช้งานสินค้าประกอบ โดยเลือกกลุ่มของสินค้าประกอบชื่อ “แก้วน้ำ” และ “ช้อนส้อม” โดยมีการกำหนดราคาสินค้าเป็นรายชิ้น ดังนี้
- จานข้าวเด็ก ราคาใบละ 300 บาท (ที่มีตัวเลือกของสินค้า 4 สี)
- แก้วน้ำ ราคาใบละ 250 บาท (ที่มีให้เลือก 4 แบบ)
- ช้อนส้อม ราคาคู่ละ 150 บาท (ที่มีให้เลือก 5 แบบ)
หากเจ้าของร้านค้าต้องการขายสินค้า โดยคิดราคาตามสินค้าที่ลูกค้าลือกซื้อ ดังตัวอย่างเช่น
- หากลูกค้าซื้อเฉพาะสินค้าหลัก (จานข้าวเด็ก) ราคาสินค้าที่ลูกค้าต้องชำระคือ 300 บาท
- หากลูกค้าซื้อสินค้าหลัก (จานข้าวเด็ก) และมีการซื้อสินค้าประกอบ คือแก้วน้ำแบบที่ 1 1 ใบ เพิ่มเติมด้วย ราคาสินค้าที่ลูกค้าต้องชำระคือ 550 บาท (300 250)
- หากลูกค้าซื้อสินค้าหลัก (จานข้าวเด็ก) และมีการซื้อสินค้าประกอบ คือแก้วน้ำแบบที่ 3 1 ใบ และ ช้อนส้อมแบบที่ 4 1 คู่ เพิ่มเติมด้วย ราคาสินค้าที่ลูกค้าต้องชำระคือ 700 บาท (300 250 150)
โดยขั้นตอนการจัดการมีดังนี้
1. ให้คุณเข้าสู่ระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ (ในกรณีที่คุณเข้าระบบหลังร้านมาใหม่ ต้องทำการระบุชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านอีกครั้ง)
2. จากนั้นให้คุณมาที่เมนู “แคตตาล็อก” เลือกเมนูย่อย “สินค้า” ดังตัวอย่างรูปที่ 1
รูปที่ 1 การใช้งานเมนูสินค้า
3. ระบบจะพาคุณมายังหน้ารายการสินค้าที่มีในร้านค้าออนไลน์ คุณสามารถเลือกสินค้าที่คุณต้องการใช้งานกับสินค้าประกอบที่คุณสร้างไว้ได้โดยคลิกที่ “แก้ไข” ท้ายชื่อสินค้าที่คุณต้องการ (รูปที่ 2) หรือเพิ่มสินค้าเข้ามาใหม่หากสินค้าที่ต้องการยังไม่มีอยู่ในร้านค้าออนไลน์
รูปที่ 2 การแก้ไขสินค้า
4. เมื่อระบบแสดงส่วนข้อมูลสินค้า ให้คุณคลิกที่ส่วน “สินค้าประกอบ” ดังตัวอย่างรูปที่ 3
รูปที่ 3 ส่วนของสินค้าประกอบ
ในกรณีนี้ให้คุณทำการกำหนดรายละเอียดสินค้าประกอบ (รูปที่ 4) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- เปิดใช้งานสินค้าประกอบ : ในกรณีนี้ให้เลือก “เปิด” (หมายเลข 1) เพื่อใช้งานสินค้าประกอบ ภายหลังการเลือกเปิดใช้งานสินค้าประกอบ ระบบจะปรากฏกลุ่มของสินค้าประกอบที่มีอยู่ในระบบร้านค้า เพื่อให้คุณเลือกใช้งาน
- สินค้าประกอบ : (หมายเลข 2) ให้คุณเลือกกลุ่มของสินค้าประกอบที่คุณได้สร้างไว้ โดยชื่อกลุ่มของสินค้าประกอบที่มีในระบบจะปรากฏทางฝั่งซ้ายมือ หากต้องการใช้งานกลุ่มสินค้าประกอบใดให้ทำการคลิกเลือกกลุ่มของสินค้าประกอบที่ต้องการทางช่องซ้ายมือ (หมายเลข2) และคลิกที่สัญลักษณ์เลื่อนมาทางขวา (หมายเลข3) เพื่อเลือกกลุ่มของสินค้าประกอบที่ต้องการมาทางฝั่งขวามือ (กลุ่มของสินค้าประกอบที่เลือกใช้จะต้องอยู่ฝั่งขวามือเสมอ) จากกรณีตัวอย่าง เจ้าของร้านต้องกำหนดกลุ่มของสินค้าประกอบ 2 กลุ่ม คือ “แก้วน้ำ” และ “ช้อนส้อม”
รูปที่ 4 การเลือกใช้กลุ่มของสินค้าประกอบ
- จากนั้นคลิกที่
“บันทึกสินค้า”
5. ในกรณีนี้เจ้าของร้านต้องการคิดราคาสินค้าเป็นรายชิ้น ให้เจ้าของร้านเข้าไปกำหนดราคาสินค้าโดยเลือก ในส่วนของ “คุณสมบัติสินค้า” ดังตัวอย่างรูปที่ 5
รูปที่ 5 ส่วนของคุณสมบัติสินค้า
6. ให้คุณเลื่อนหน้าจอจนพบข้อมูลส่วน “ใช้ราคาสินค้าแบบยืดหยุ่น” (รูปที่ 6) คุณสามารถกำหนดให้มีการคิดราคาสินค้ารายชิ้นได้ โดยทำเครื่องหมายถูกลงในช่องสีเหลี่ยมท้ายใช้ราคาสินค้าแบบยืดหยุ่น (หมายเลข 1) และทำการกำหนดราคาสินค้าหลักที่คุณต้องการขาย ที่ราคา (หมายเลข 2) กรณีตัวอย่างกำหนดไว้ที่ 300 บาท
หมายเหตุ : หากไม่กำหนดใช้ราคาสินค้าแบบยืดหยุ่น ระบบจะเข้าใจว่าคุณต้องการขายสินค้าสุทธิ เจ้าของร้านต้องการขายในราคา 300 บาทเท่านั้น (ซึ่งเป็นราคาที่รวมสินค้าประกอบเรียบร้อยแล้ว)
รูปที่ 6 การปรับเปลี่ยนราคา
7. เมื่อกำหนดข้อมูลเรียบร้อยให้คุณคลิก “บันทึกสินค้า” อีกครั้ง