×

ค้นหาวิธีการใช้งาน

ตั้งค่าร้านค้าแบบรวดเร็ว

เข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน
takraonline

        เมื่อคุณต้องการจัดการร้านค้าออนไลน์เพื่อปรับปรุงข้อมูลของร้านค้าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า หรือราคา คุณสามารถเข้าใช้งานด้วยการพิมพ์ URL ด้วยรูปแบบ “http://ชื่อร้านค้า.com/admin หรือ http://ชื่อร้านค้า.takraonline.com/admin บนเว็บเบราว์เซอร์ที่ต้องการ

        คุณจะพบหน้าจอให้ทำการระบุตัวตน (ดังตัวอย่าง รูปที่ 1) โดยให้คุณระบุ "ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน" เพื่อทำการยืนยันสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน จากนั้นคลิก "เข้าสู่ระบบ"

รูปที่ 1 การลงชื่อเข้าใช้งานส่วนการจัดการร้านค้าออนไลน์


        จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอการจัดการร้านค้าออนไลน์ (ดังตัวอย่าง รูปที่ 2)

รูปที่ 2 หน้าแรกของระบบจัดการร้านค้าออนไลน์

 

- ล็อกอินด้วย Facebook คลิก

- ดูการแสดงผลหน้าร้าน คลิก

ปรับแต่งดีไซน์
takraonline

การเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าออนไลน์ (Theme)

        ในเบื้องต้นร้านค้าออนไลน์ที่คุณได้รับจากทางตะกร้าออนไลน์ รูปแบบร้านค้าที่แสดงอยู่ในหน้าร้านค้าออนไลน์จะเรียกว่า “รูปแบบ Modernize” แต่ยังมีอีก 2 รูปแบบที่มีให้เป็นรูปแบบมาตรฐานคือ รูปแบบ Bright และรูปแบบ TakraOnline หรือในกรณีที่มีการซื้อรูปแบบร้านค้าออนไลน์เพิ่มเติมก็สามารถจัดการเลือกใช้งานได้เช่นกัน ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าออนไลน์ตามขั้นตอนดังนี้
        1. ให้คุณคลิกที่เมนู “ปรับแต่งร้านค้า” และเลือกเมนูย่อย “รูปแบบร้านค้า” ดังแสดงในรูปที่ 1

 

รูปที่ 2 การใช้งานเมนูรูปแบบร้านค้า

 

        2. จากนั้นระบบจะแสดงพื้นที่รูปแบบร้านค้า ดังตัวอย่างรูปที่ 2 โดยที่พื้นที่รูปแบบร้านค้า คุณจะพบว่าระบบจะแจ้งรูปแบบร้านค้าที่คุณกำลังใช้งานอยู่ ที่ส่วน “รูปแบบร้านค้าที่คุณเลือก”
 

รูปที่ 2 ตัวอย่างการแสดงพื้นที่รูปแบบร้านค้า

 

        3. ในกรณีที่คุณต้องการเปลี่ยนรูปแบบร้านค้า คุณสามารถคลิกที่สัญลักษณ์เปิดการใช้งานรูปแบบร้านค้าที่คุณต้องการได้ทันที (รูปที่ 3) ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่เคยลงไว้ในเว็บไซต์ไม่ต้องลงซ้ำเมื่อเปลี่ยนรูปแบบร้านค้า
 

รูปที่ 3 ตัวอย่างการเลือกรูปแบบร้านค้าที่ต้องการ

 

        4. ภายหลังที่คุณคลิกที่สัญลักษณ์เปิดการใช้งานรูปแบบร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการ ระบบจะทำการเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าตามรูปแบบที่คุณเลือก ดังตัวอย่างรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าชื่อรูปแบบร้านค้าที่คุณเลือกจะมาปรากฏที่ข้อความรูปแบบร้านค้าที่คุณเลือก
 

รูปที่ 4 ตัวอย่างการแสดงผลเมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบร้านค้า

 

        5. ถ้าในกรณีที่มีการซื้อรูปแบบร้านค้าเพิ่มเติม ที่รายการรูปแบบร้านค้าจะมีตัวเลือกมากขึ้น


การเปลี่ยนโลโก้

        ในเบื้องต้นโลโก้ที่แสดงด้านหน้าร้านค้าออนไลน์นั้นจะเป็นรูปตัวอย่าง เพื่อตั้งต้นไว้ให้ทางเจ้าของร้านค้าได้ทราบว่าคุณจะนำโลโก้ หรือสัญลักษณ์ของร้านค้ามาใส่ไว้ที่ใด (ดังรูปที่ 1)

 

รูปที่ 1 ตำแหน่งการแสดงโลโก้ที่หน้าร้านค้าออนไลน์

 

        คุณสามารถเปลี่ยนเป็นโลโก้ของร้านค้าคุณเองได้ โดยจัดเตรียมรูปภาพโลโก้ที่ต้องการ ซึ่งขนาดรูปที่เหมาะสมกับการแสดงที่หน้าร้านค้าคือ 200 x 80 px. (กว้าง x สูง) และเมื่อเตรียมรูปโลโก้เป็นที่เรียบร้อยให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
        1. ให้คุณเข้าสู่ระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ (ในกรณีที่คุณเข้าระบบหลังร้านมาใหม่ ต้องทำการระบุชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านอีกครั้ง)
        2. มาที่ส่วนของเมนู ให้เลือกเมนู “ปรับแต่งร้านค้า” และเลือกเมนูย่อย “ปรับแต่งดีไซน์” รูปที่ 2

 

รูปที่ 2 เมนูตั้งค่าเบื้องต้น

 

        3. คุณจะพบรายละเอียดของการระบุโลโก้ที่แท็บ “โลโก้ / Favicon” ดังรูปที่ 3
 

รูปที่ 3 พื้นที่การเปลี่ยนโลโก้

 

        4. เมื่อเจอพื้นที่รูปภาพโลโก้ ให้คุณคลิกที่ปุ่มเพิ่มรูปภาพ (เครื่องหมายบวก) จากนั้นระบบจะให้คุณทำการเลือกรูปโลโก้ที่คุณจัดเตรียมไว้ ดังตัวอย่างรูปที่ 4
 

รูปที่ 4 ขั้นตอนการเปลี่ยนรูปโลโก้

 

        5. เมื่อคุณทำการเลือกรูปโลโก้ที่คุณต้องการเป็นที่เรียบร้อย จะปรากฏรูปภาพที่เลือกไว้ ดังแสดงในตัวอย่างรูปที่ 5
 

รูปที่ 5 ตัวอย่างการแสดงชื่อโลโก้ที่เลือกใช้

 

        6. จากนั้นทำการบันทึกข้อมูล โดยการคลิกที่ “บันทึก” เมื่อการบันทึกเสร็จสิ้นจะมีการแสดงข้อความถึงผลการบันทึก (รูปที่ 6)
 

รูปที่ 6 ผลการบันทึกโลโก้ที่เปลี่ยนแปลง
 

        7. คุณสามารถตรวจสอบรูปโลโก้ที่เปลี่ยนแปลงได้ที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ โดยคลิกที่ “ดูหน้าร้านค้า” คุณจะพบว่ารูปโลโก้เปลี่ยนไปตามรูปแบบที่คุณได้กำหนดไว้ ดังตัวอย่างรูปที่ 7
 

รูปที่ 7 ตัวอย่างการแสดงโลโก้ที่เปลี่ยนแปลงเรียบร้อย

ตั้งค่าร้านค้า
takraonline

กำหนดข้อมูลติดต่อร้านค้า

        การกำหนดข้อมูลร้านค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบชื่อผู้ขาย หรือสถานที่ หรือข้อมูลที่สามารถติดต่อได้ โดยข้อมูลนี้จะปรากฏที่ส่วน “เมนูติดต่อเรา” ในบริเวณหน้าร้านค้าออนไลน์ที่ลูกค้าเข้าใช้งานซื้อสินค้า การกำหนดข้อมูลสามารถทำได้ดังนี้
        เมื่อคุณเข้าสู่ระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์เป็นที่เรียบร้อย ให้คุณเลือกเมนู “ตั้งค่าระบบ” (หมายเลข 1) และเลือกเมนูย่อย “ตั้งค่าเบื้องต้น” (หมายเลข 2) ดังแสดงในรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 เมนูตั้งค่าเบื้องต้น

 

        คุณจะพบรายละเอียดของการระบุข้อมูลร้านค้า ที่แท็บ “ข้อมูลติดต่อ” ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งคุณสามารถระบุข้อมูลติดต่อของร้านค้าโดยใช้รูปแบบตามตัวอย่างที่มีให้

 

รูปที่ 2 การกำหนดข้อมูลบริษัท

 

        ในส่วนของแผนที่ร้านค้า กรณีที่ต้องการให้แสดงแผนที่ร้านค้า เมื่อเลือก “เปิด” ใช้งาน ต้องทำการระบุ Google Map API Key, ละติจูด และลองจิจูด เพื่อกำหนดพิกัดบนแผนที่ (โดยขั้นตอนการขอ Google Map API Key สามารถอ่านขั้นตอนได้ที่หัวข้อ “ขั้นตอนการขอ Google Map API Key” ส่วนเลขละติจูด และเลขลองจิจูดสามารถหาได้จาก Google Maps)
 

รูปที่ 3 พื้นที่การใช้งานแผนที่ร้านค้า

 

        เมื่อคุณระบุข้อมูลครบถ้วนให้ทำการบันทึกข้อมูล โดยการคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เมื่อการบันทึกเสร็จสิ้นจะมีการแสดงข้อความถึงผลการบันทึกสำเร็จ ดังแสดงในรูปที่ 4
 

รูปที่ 4 การแสดงผลการบันทึกข้อมูลเสร็จสิ้น

 

        ข้อมูลที่ได้ระบุไว้ สามารถตรวจสอบการแสดงผลได้ โดยไปที่หน้าร้านค้าออนไลน์ของคุณ ซึ่งคุณสามารถไปยังหน้าร้านค้าออนไลน์จากทางหน้าการจัดการร้านค้าออนไลน์โดยการคลิกที่ “ดูหน้าร้านค้า” ดังแสดงในรูปที่ 5
 

รูปที่ 5 เมนูดูหน้าร้านค้า

 

        เมื่อมาที่หน้าร้านค้าออนไลน์ ให้คลิกเลือกเมนู “ติดต่อเรา” ระบบจะแสดงข้อมูลตามที่ได้ระบุไว้ ดังแสดงในตัวอย่างรูปที่ 6
 

รูปที่ 6 ตัวอย่างการแสดงผลที่เมนูติดต่อเราในหน้าร้านค้าออนไลน์

 


การตั้งค่าอีเมล์เพื่อการติดต่อ

        เนื่องจากระบบร้านค้าออนไลน์ของ TakraOnline ไม่มีระบบอีเมล์ของตนเองรองรับ คุณจำเป็นต้องใช้บริการอีเมล์จากผู้ให้บริการภายนอก เช่น Hotmail หรือ Gmail เป็นต้น โดยคุณต้องทำการตั้งค่าอีเมล์ให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากระบบจะใช้อีเมล์นี้ส่งข้อความไปหาลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าและชำระเงิน และท่านจะได้รับข้อความจากระบบเช่นกัน

โดยขั้นตอนการตั้งค่าอีเมล์มีขั้นตอนดังนี้

        1. ให้คุณเข้าสู่ระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ (ในกรณีที่คุณเข้าระบบหลังร้านมาใหม่ ต้องทำการระบุชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านอีกครั้ง) 

        2. มาที่ส่วนของเมนู เลือกที่เมนู “ตั้งค่าระบบ” และเลือกเมนูย่อย “ตั้งค่าเบื้องต้น” (ดังตัวอย่าง รูปที่ 1)

รูปที่ 1 เมนูตั้งค่าเบื้องต้น

        3. คุณจะพบรายละเอียดของการระบุข้อมูลร้านค้า แต่ในกรณีนี้ให้คุณทำการคลิกเลือกที่หัวข้อ “อีเมล์” ระบบจะแสดงส่วนการกำหนดค่าอีเมล์ (ดังตัวอย่าง รูปที่ 2)

รูปที่ 2 ส่วนการกำหนดค่าอีเมล์

        4. ทำการกำหนดข้อมูลเพื่อตั้งค่าอีเมล์ โดยมีตัวอย่างของการตั้งค่าอีเมล์ ดังนี้

ตัวอย่างการตั้งค่าอีเมล์เพื่อใช้บริการของ Hotmail (รูปที่ 3)

รูปที่ 3 การกำหนดค่าอีเมล์ของผู้ให้บริการ Hotmail

        - เลือกผู้ใช้บริการอีเมล์ที่ชื่อ - “Hotmail”

        - อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ (SMTP) - จะปรากฏเป็น smtp.live.com

        - Port – จะปรากฏเป็น 587

        - ต้องการข้อมูลผู้ใช้อีเมล์ – เปิด

        - อีเมล์ – ระบุอีเมล์แอดเดรสของคุณที่ต้องการใช้งาน เช่น (example@hotmail.com) จำเป็นต้องระบุ

        - รหัสผ่าน – รหัสผ่านของอีเมล์แอดเดรสของคุณ จำเป็นต้องระบุ

        - เปิดใช้ SSL – เปิด

        - จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก”

ตัวอย่างการตั้งค่าอีเมล์เพื่อใช้บริการของ Gmail (รูปที่ 4)

รูปที่ 4 การกำหนดค่าอีเมล์ของผู้ให้บริการ Gmail

        -เลือกผู้ให้บริการอีเมล์ที่ชื่อ - “Gmail”

        -อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ (SMTP) - จะปรากฏเป็น smtp.gmail.com

        -Port - 25 หรือ 465

        -ต้องการข้อมูลผู้ใช้อีเมล์ – เปิด

        -อีเมล์ – ระบุอีเมล์แอดเดรสของคุณที่ต้องการใช้งาน เช่น (example@gmail.com) จำเป็นต้องระบุ

        -รหัสผ่าน – รหัสผ่านของอีเมล์แอดเดรสของคุณ จำเป็นต้องระบุ

        -เปิดใช้ SSL – เปิด

        -จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก”

        ในกรณีที่คุณใช้อีเมล์จากผู้ให้บริการรายอื่นที่นอกเหนือจาก Gmail และ Hotmail ให้เลือกที่ผู้ใช้บริการ “อื่นๆ” (ดังตัวอย่าง รูปที่ 5) โดยข้อมูลที่คุณต้องทำการหาข้อมูลเพิ่มเติมคือ ค่าอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ (SMTP) และ Port ตามผู้ให้บริการที่คุณใช้งาน

รูปที่ 5 การกำหนดค่าอีเมล์ของผู้ให้บริการอื่นๆ

การเพิ่มสินค้าพร้อมขาย
takraonline

ในการเพิ่มหมวดสินค้า

ในการเพิ่มหมวดสินค้าเราสามารถสร้างหมวดสินค้าได้หลายระดับ โดยสามารถสร้างเป็นหมวดสินค้าหลัก (Root) และมีหมวดสินค้าย่อยอยู่ภายในได้ โดยขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
    1. คลิกที่ปุ่ม “เพิ่ม” จากหน้ารายการหมวดสินค้า
    2. จากนั้นระบบจะแสดงหน้าเพิ่มหมวดสินค้า โดยมีรายละเอียดที่สามารถกำหนดให้กับหมวดสินค้าต้องการสร้าง ดังตัวอย่าง รูปที่ 1

 

รูปที่ 1 หน้าเพิ่มหมวดสินค้า
    

                a. ชื่อหมวดสินค้า : ระบุชื่อหมวดสินค้าที่ต้องการให้ไปปรากฎในหน้าร้านค้าออนไลน์
                b. คำบรรยาย : ระบุคำอธิบายหมวดสินค้า
                c. หมวดสินค้าหลัก : ให้คุณเลือกระดับของหมวดสินค้า ในกรณีที่เป็นหมวดสินค้าหลักให้เลือก “Root” แต่ใน    กรณีที่ต้องการสร้างเป็นหมวดย่อยให้ทำการเลือกชื่อหมวดหลักจากรายการ ก่อนที่จะสร้างหมวดสินค้าย่อยได้ จะต้องทำการสร้างหมวดหลักไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังตัวอย่าง รูปที่ 2


 

รูปที่ 2 การอัพโหลดรูปภาพหมวดสินค้า
    

                d. รูปภาพ : ใส่รูปภาพแสดงประกอบหมวดสินค้า ในการใส่รูปภาพให้กับหมวดสินค้าเจ้าของร้านสามารถใส่รูปภาพได้ 2 พื้นที่ ได้แก่ รูปภาพประจำหมวดสินค้า และรูปแบนเนอร์ประจำหมวดสินค้า ซึ่งสามารถแนบลิงค์ที่ภาพแบนเนอร์ได้ ทำการคลิกที่ “ลากไฟล์หรือคลิก เพื่ออัพโหลด” จากนั้นเลือกรูปภาพที่เตรียมไว้ (รูปที่ 3)
 

รูปที่ 3 การสร้างหมวดสินค้าย่อย

 

        จากภาพตัวอย่าง หากต้องการสร้างหมวดสินค้า “T-shirt” ให้เป็นหมวดสินค้าย่อยภายใต้หมวดสินค้าเสื้อ คุณต้องเลือกชื่อหมวดสินค้าเสื้อที่หัวข้อ “หมวดสินค้าหลัก” โดยการแสดงหมวดสินค้าที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ดังตัวอย่าง รูปที่ 4

 

รูปที่ 4 การแสดงหมวดสินค้าที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์
    

                e. เปิดใช้งาน : ในกรณีที่ต้องการเปิดหรือปิดใช้งานหมวดสินค้าที่สร้าง โดยทำเครื่องหมายถูกเมื่อต้องการเปิดใช้งาน แต่ถ้าหากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกเพื่อเอาเครื่องหมายถูกออก
                f. เปิดใช้ Faceted Search สำหรับหมวดสินค้านี้ : ในกรณีที่ต้องการเปิดหรือปิดใช้งาน Faceted Search โดยทำเครื่องหมายถูกเมื่อต้องการเปิดใช้งาน หากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกเพื่อเอาเครื่องหมายถูกออก
                g. แสดงสินค้ามาใหม่ : ในกรณีที่ต้องการแสดงสินค้ามาใหม่ภายใต้หมวดสินค้าที่สร้าง โดยทำเครื่องหมายถูกเมื่อต้องการเปิดใช้งาน หากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกเพื่อเอาเครื่องหมายถูกออก
                h. แสดงแบรนด์ที่เกี่ยวข้อง : ในกรณีที่ต้องการให้แบรนด์สินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง ปรากฎในหน้าหมวดสินค้า สามารถเปิดการใช้งาน และระบุ ID ของแบรนด์สินค้าที่ได้เพิ่มไว้ในร้านค้าได้ (รูปที่ 5)

 

รูปที่ 5 การเปิดการใช้งานส่วนอื่นๆ


        3. เมื่อกำหนดข้อมูลครบถ้วนให้ทำการคลิกปุ่ม “เพิ่มหมวดสินค้า” เพื่อให้ระบบทำการบันทึกหมวดสินค้า
        4. เมื่อกลับมาที่หน้ารายการหมวดสินค้าคุณจะพบรายการหมวดสินค้าที่ได้สร้างไว้ ดังตัวอย่าง รูปที่ 6

 

รูปที่ 6 รายการหมวดสินค้าที่ได้สร้างไว้


การเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง

        ในกรณีที่คุณต้องการเพิ่มสินค้าเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์ ด้วยข้อมูลของสินค้าที่ละเอียดมากขึ้น คุณสามารถใช้งานการเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูงได้ (การเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเพิ่มสินค้าสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ “การตั้งค่ารูปแบบการเพิ่มสินค้า”)
        เมื่อคุณเลือกรูปแบบการเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูงเรียบร้อย และต้องการเพิ่มสินค้าเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์สามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
        1. ให้คุณมาที่เมนู “สินค้า” เลือกเมนูย่อย “เพิ่มสินค้า” ดังตัวอย่างรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 การเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง

 

        2. ภายหลังการคลิกเพิ่มสินค้า ระบบจะแสดงส่วนการเพิ่มสินค้า ระบบจะแสดงพื้นที่การระบุข้อมูลสินค้า ให้คุณระบุข้อมูลของสินค้าที่ต้องการประกาศขายในหน้าร้านค้าออนไลน์ ดังตัวอย่างรูปที่ 2 (ให้คุณสังเกตุรูปแบบการเพิ่มสินค้าว่าปรากฏเป็นแบบขั้นสูงแล้วรึยัง)
 

รูปที่ 2 หน้าการเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง

 

โดยข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้
        ชื่อสินค้า : กำหนดชื่อสินค้าที่ต้องการขาย
        รหัสสินค้า : กำหนดรหัสสินค้า
        รูปภาพสินค้า : คุณสามารถเพิ่มรูปภาพของสินค้าได้โดย “ลากไฟล์หรือคลิก เพื่ออัพโหลด” เมื่อเลือกรูปภาพเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก “อัพโหลดรูป” ดังตัวอย่างรูปที่ 3

 

รูปที่ 3 การเพิ่มรูปภาพของสินค้า

 

        จากนั้นระบบจะทำการนำเข้ารูปภาพสินค้าและแสดงข้อมูลภาพสินค้า ในพื้นที่ของข้อมูลรูปภาพคุณสามารถกำหนดให้ภาพขยายได้เมื่อลูกค้าเข้าชม โดยทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “ขยาย?” และถ้าต้องการให้แสดงภาพขนาดเต็มได้ ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “ขนาดเต็ม?” ดังตัวอย่างรูปที่ 4
 

รูปที่ 4 การเลือกการแสดงภาพขยายและขนาดเต็ม

 

        คุณสามารถเพิ่มรูปภาพสินค้าได้ตามจำนวนที่ต้องการ และเมื่อเพิ่มภาพสินค้าครบถ้วนแล้ว คุณสามารถกำหนดการนำเสนอภาพสินค้าที่ต้องการให้ปรากฏเมื่อลูกค้าเข้าเยี่ยมชมสินค้าที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ โดยการนำเสนอภาพสินค้าคุณสามารถเลือกภาพในการนำเสนอได้ 2ภาพด้วยกัน โดยภาพแรกที่ต้องการให้ปรากฏ ระบบจะเรียกว่ารูปภาพหลักที่รูปดังกล่าวจะต้องมีสัญลักษณ์ “P” และในภาพที่สองจะปรากฏเมื่อลูกค้านำเม้าส์ไปชี้ที่ภาพสินค้า โดยภาพที่สองที่รูปดังกล่าวจะต้องมีตัวเลข “1” ที่รูปภาพ
        ดังนั้นหากคุณต้องการให้ภาพใดแสดงเป็นภาพแรกที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ให้คลิกที่สัญลักษณ์ “P” (หมายเลข 1) ที่คอลัมน์ “รูปหลัก?” จากนั้นที่ใต้ภาพนั้น จะมีสัญลักษณ์ตัว P ปรากฏอยู่ด้านล่าง (หมายเลข 2) และในกรณีที่คุณต้องการให้ภาพใดแสดงเป็นภาพที่ 2 เมื่อลูกค้าชี้เม้าส์ ให้พิมพ์เลข 1 ลงไปใต้ภาพนั้น (หมายเลข 3) ดังตัวอย่างรูปที่ 5

 

รูปที่ 5 การนำเสนอภาพ 2 มุมมองในหน้าเว็บไซต์

 

        รายละเอียดสินค้า : พื้นที่ของการกำหนดข้อมูลให้กับสินค้า โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
                - รายละเอียดสินค้าอย่างย่อ : กำหนดรายละเอียดของสินค้า ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า (ข้อมูลส่วนนี้จะแสดงเมื่อดูข้อมูลอย่างย่อของสินค้า หรือลูกค้าคลิกเข้ามาที่ตัวสินค้า)
                - รายละเอียดสินค้าโดยละเอียด : กำหนดรายละเอียดให้กับสินค้า โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น (ซึ่งข้อมูลนี้จะปรากฏเมื่อลูกค้าคลิกเข้ามาที่ตัวสินค้า) รูปที่ 6

 

รูปที่ 6 การปรากฏรายละเอียดสินค้าโดยละเอียด

 

        ประเภทของสินค้า : กำหนดประเภทของสินค้าที่ต้องการนำเสนอในหน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ สินค้าใหม่ สินค้าขายดี หรือสินค้าแนะนำ (สามารถกำหนดได้มากกว่า 1)
                - สินค้าใหม่ : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้ามาใหม่หรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าใหม่ ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องเป็นสินค้าใหม่
                - สินค้าขายดี : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าขายดีหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าขายดี ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องสินค้าขายดี
                - สินค้าแนะนำ : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าแนะนำหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าแนะนำ ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องสินค้าแนะนำ
        หมวดหมู่ : กำหนดหมวดหมู่สินค้าให้กับตัวสินค้าโดยการคลิกเลือกหมวดสินค้าที่ต้องการ (เลือกได้มากกว่า 1 หมวด) ดังตัวอย่างรูปที่ 7

 

รูปที่ 7 การกำหนดหมวดหมู่สินค้าให้กับตัวสินค้า

 

        แผนก : กรณีที่ต้องการกำหนดแผนกให้กับสินค้า คุณสามารถคลิกเลือกแผนสินค้าที่ต้องการได้
คุณสมบัติสินค้า : กรณีที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติให้กับสินค้าเพิ่มเติมสามารถเพิ่มข้อมูล ผู้ผลิต, รุ่น, รหัสจากผู้ผลิต และ UPC ได้
        ขนาด : กรณีที่ต้องการกำหนดขนาดของสินค้า ความยาว ความกว้าง ความสูง และน้ำหนัก
        ข้อมูลจำเพาะ : กรณีที่ต้องการกำหนดข้อมูลจำเพาะให้กับสินค้า
        ระบบสต็อกสินค้า : กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนสินค้าที่มีในสต็อก คุณสามารถเลือกใช้งานได้ ในกรณีที่เลือกใช้งานระบบสต็อกสินค้า คุณต้องระบุจำนวนสินค้าที่มี ในส่วน “จำนวนสินค้าในสต็อก”
        ตัวเลือกสินค้า : เลือกตัวเลือกของสินค้าจากกล่องตัวเลือกที่คุณได้สร้างขึ้น เพื่อทำการกำหนดตัวเลือกของสินค้าที่ต้องการให้ลูกค้าเลือก เช่นสินค้าเป็นเสื้อกันหนาวไหมพรม และต้องการให้ลูกค้าเลือกสีของเสื้อที่ต้องการซื้อ ดังนั้นเมื่อคุณได้สร้างตัวเลือกสินค้าไว้เป็นที่เรียบร้อย ต้องเลือกนำมาใช้งานด้วยเช่นกัน
        โดยขั้นตอนการใช้ตัวเลือกสินค้ามีดังนี้
                เปิดใช้งาน? : กรณีเลือกใช้งานตัวเลือกใด ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “เปิดใช้งาน?”
                รูปภาพ : กรณีที่ต้องการให้รูปแสดงตรงกับตัวเลือกย่อยที่ลูกค้าเลือกสามารถ ใส่ภาพสินค้าได้โดยทำเครืองหมายถูกที่รูปภาพ ของตัวเลือกสินค้าที่ต้องการ ดังตัวอย่างรูปที่ 8

 

รูปที่ 8 กรณีที่ต้องการให้รูปแสดงตรงกับตัวเลือกย่อย
   

        หากคุณทำเครื่องหมายถูกที่รูปภาพ ระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณเลือกไฟล์รูปภาพมาใส่ให้กับตัวเลือกย่อยที่มี คุณสามารถเลือกภาพเพื่อแสดงให้ตรงกับตัวเลือกย่อยนั้น ดังตัวอย่างรูปที่ 9

 

รูปที่ 9 การเลือกภาพประกอบตัวเลือกของสินค้า

 

        ซึ่งภาพที่คุณอัพโหลด เมื่อลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้า เช่น เสื้อกันหนาวไหมพรม ซึ่งมีตัวเลือก สีครีม สีน้ำตาล และสีเทา หากลูกค้าคลิกเลือกสีเทา ระบบจะแสดงเป็นเสื้อกันหนาวไหมพรมสีเทา ดังตัวอย่างรูปที่ 10

 

รูปที่ 10 การแสดงภาพที่ตรงกับตัวเลือกนั้น
   

        สต๊อก : กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี สามารถทำได้ โดยทำเครื่องหมายถูกที่สต๊อก ของตัวเลือกสินค้าที่ต้องการ จากนั้นระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณระบุจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี ดังตัวอย่างรูปที่ 11

รูปที่ 11 กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี
   

        หากคุณทำเครืองหมายถูกที่สต็อก ระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณใส่จำนวนสต็อกของตัวเลือกสินค้าที่คุณได้เลือก ดังตัวอย่างรูปที่ 12

รูปที่ 12 ใส่จำนวนสต็อกของตัวเลือกสินค้าที่คุณได้เลือก

 

        กำหนดราคาสินค้า : พื้นที่ของการกำหนดราคาให้กับสินค้า โดยการกำหนดราคาสินค้าสามารถทำได้ดังนี้
        ติดต่อเพื่อสอบถามราคา :  ในกรณีที่ไม่ต้องการแสดงราคาสินค้า โดยให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าสอบถามราคากับทางเจ้าของร้านค้าโดยตรง ให้คลิกเพื่อทำเครื่องหมายในวงกลมด้านหน้า
        กำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้า? : กรณีที่คุณต้องการกำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้า
        ราคาทั้งหมดรวม Vat จะแบ่งเป็น รูปที่ 13
                ราคารวม Vat : กำหนดค่าสินค้า โดยเป็นราคาขายจริงที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
                ราคาขายปลีก : กำหนดราคาขายให้กับตัวสินค้า โดยเป็นราคาก่อนลดราคา

 

รูปที่ 13 การกำหนดราคาสินค้า

 

        การคำนวณค่าจัดส่ง : ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวต้องมีวิธีคำนวณค่าจัดส่งเฉพาะตัว คุณสามารถกำหนดค่าจัดส่งได้ดังนี้ (รูปที่ 14)

 

รูปที่ 14 การคำนวณค่าจัดส่งสินค้า
    

        จัดส่งฟรี? : กรณีที่คุณต้องการให้สินค้าชิ้นนี้เป็นสินค้าที่ไม่มีการคิดค่าจัดส่ง
        กำหนดค่าขนส่ง (สำหรับสินค้านี้เท่านั้น) : กรณีที่คุณต้องการกำหนดค่าขนส่งพิเศษสำหรับสินค้าชิ้นนี้ สามารถเลือกใช้งาน และกำหนดราคาค่าจัดส่งได้จากรายการขนส่งที่มีในระบบ ตามต้องการ
        SEO : ในส่วนพื้นที่ของ SEO ซึ่งในส่วนพื้นที่นี้หากคุณเว้นว่างไว้ ระบบจะดึงค่ามาตรฐานของร้านค้าของคุณมากำหนดให้ ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ข้อมูลจากค่ามาตรฐานคุณสามารถจัดการข้อมูลใหม่ได้ ดังตัวอย่างรูปที่ 15

 

รูปที่ 15 พื้นที่ SEO

 

        โดยรายละเอียดมีดังนี้
                Title : คือส่วนแท็บด้านบนของเว็บไซต์เป็นพื้นที่กำหนดคำค้นหา ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้าเว็บเพจ
                Meta Keyword : กรณีที่คุณต้องการแนะนำคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เพื่อให้ search engine ทราบถึงข้อมูลคำค้นหา ที่คุณต้องการแนะนำตัวด้วยคำค้นหาใด
                Meta Description : เป็นการอธิบายรายละเอียดอย่างย่อของเว็บเพจให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
        

        สถานะสินค้า : กำหนดสถานะของสินค้า โดยมีให้เลือกใช้งาน 2 สถานะคือ
        เผยแพร่ : ต้องการเปิดใช้งานสินค้าเพื่อลูกค้าสามารถเลือกซื้อผ่านหน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของคุณ
        บันทึกร่าง : จัดเก็บข้อมูลสินค้าไว้ในระบบก่อน ยังไม่เปิดให้ใช้งาน
        

        3. เมื่อใส่รายละเอียดข้อมูลสินค้าที่ต้องการจนครบถ้วน (โดยเฉพาะข้อมูลที่มีเครื่องหมายดอกจันสีแดง *) ให้คุณคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มสินค้า” เพื่อทำการบันทึกและแสดงสินค้าที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ดังตัวอย่างรูปที่ 16
 

รูปที่ 16 ปุ่มเพิ่มสินค้า

 

        4. เมื่อมาที่หน้าร้านค้าออนไลน์ คุณจะพบสินค้าที่คุณได้เพิ่มในระบบ ทั้งรูปภาพและรายละเอียดของสินค้า ดังตัวอย่างรูปที่ 17
 

รูปที่ 17 ตัวอย่างสินค้าที่คุณได้เพิ่มลงในร้าน

ตั้งค่าการชำระเงิน
takraonline

        เมื่อคุณได้กำหนดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า และสินค้าที่จะขายเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่จำเป็นต่อมาสำหรับร้านค้าออนไลน์นั้นคือช่องทางในการรับชำระเงินสำหรับสินค้า โดยระบบร้านค้าออนไลน์ของ TakraOnline สามารถกำหนดวิธีการในการรับชำระสินค้าได้มากกว่า 1 วิธี โดยคุณสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ  

โดยขั้นตอนการกำหนดวิธีการรับชำระเงินมีดังนี้

        1. ให้คุณมาที่เมนู “ตั้งค่าระบบ” เลือกเมนูย่อย “ตั้งค่าช่องทางการชำระเงิน” ดังรูปตัวอย่าง รูปที่ 1

รูปที่ 1 การกำหนดช่องทางการชำระเงิน

 

        2. คุณจะพบหน้าข้อมูล “ตั้งค่าช่องทางการชำระเงิน” ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 2

รูปที่ 2 หน้าข้อมูลช่องทางการชำระเงิน

 

        3. จากนั้นทำการกำหนดข้อมูลของการชำระเงิน โดยเบื้องต้นทางระบบกำหนดตัวอย่างช่องทางการรับชำระเงินไว้ ดังนี้

  -  Bank Transfer : การกำหนดเลขที่บัญชีธนาคารที่ต้องการ

  -  KPayment : กำหนดการชำระเงินผ่าน Internet Banking ของทางธนาคารกสิกร

  -  Custom : การชำระเงินแบบเช็คเงินสด

  -  PayPal : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทาง PayPal

  -  Purchase Order : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านระบบจัดซื้อ

  -  Bualuang iPay : กำหนดการชำระเงินผ่าน Internet Banking ของทางธนาคารกรุงเทพ

  -  LinePay : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทาง LinePay

  -  mPay : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทาง mPay

  -  2C2P : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทาง 2C2P 

  -  Cash On Delivery : การชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทาง

  -  GBPrimePay : กำหนดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทาง GB PrimePay

  หมายเหตุ : การขอใช้บริการในช่องทางการชำระเงินที่กล่าวมา ทางคุณจะเป็นผู้ติดต่อกับผู้ให้บริการช่องทางการชำระเงินด้วยตนเอง

 

- การตั้งค่ารับชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร (Bank Transfer)

- การตั้งค่ารับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต (K-Payment, Bualuand IPay)

- การตั้งค่ารับชำระเงินผ่านระบบรับชำระเงินออนไลน์ (Paypal, LinePay, mPay)

- การรับชำระเงินผ่านช่องทาง 2C2P

- การรับชำระเงินผ่านช่องทาง GB PrimePay

ตั้งค่าช่องทางการจัดส่ง
takraonline

        การเพิ่มวิธีการจัดส่งสินค้าคุณสามารถเลือกใช้งานวิธีการจัดส่ง ทางเจ้าของร้านค้าสามารถเลือกใช้งานในรูปแบบที่ต้องการได้ โดยขั้นตอนในการจัดการค่าจัดส่งสินค้าในแต่ละรูปแบบ คุณสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการ

        1. ให้คุณเข้าสู่ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของคุณ แล้วไปที่เมนู "ตั้งค่าระบบ" เมนูย่อย "ตั้งค่าการจัดส่ง" ดังรูปตัวอย่าง รูปที่ 1

รูปที่ 1 การเพิ่มวิธีการตั้งค่าขนส่ง


        2. จากนั้นระบบจะแสดงรายละเอียด “ส่วนจัดการค่าวิธีจัดส่งสินค้าของคุณ” ให้คุณคลิก "เพิ่มการจัดส่ง" เพื่อเพิ่มวิธีจัดส่งสินค้า ดังรูปตัวอย่าง รูปที่ 2

รูปที่ 2 ปุ่มเพิ่มการจัดส่ง

หากยังมีข้อสงสัยต้องการสอบถามทีมงานโดยตรง

ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.