×
หน้าหลัก>ข่าวสารธุรกิจออนไลน์>ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ซมาแรง
ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ซมาแรง
ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ซมาแรง
30 Oct, 2014 / By belle
Images/Blog/4890456-ข่าว.jpg

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ได้ทำวิจัยเรื่อง “การเติบโตของอีคอมเมิร์ซในไทยกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค” โดยมีรายละเอียดดังนี้

โอกาสของนักการตลาดในการทำโฆษณาผ่านสื่อใหม่ๆมีมากขึ้น นักการตลาดไม่ควรมองข้ามสื่อออนไลน์

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยในวันนี้ถึงผลการศึกษา “การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทยกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค” พบว่าในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้ารูปแบบใหม่ “เช็ค-แชร์-ช็อป” ผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นการปฏิวัติการช้อปปิ้งที่การแบ่งปันความคิดเห็นและประสบการณ์ของเพื่อนฝูงมีอิทธิพลมากกว่าการโฆษณา เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์ (O2O Crossroad) เข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีที่พวกเขาคุ้นเคย ในขณะที่ร้านค้ายังคงเป็นแหล่งช้อปปิ้งของผู้บริโภคจำนวนมาก เส้นแบ่งระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์กลับจางลงเรื่อยๆ

วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อสำรวจแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้นักการตลาดนำข้อมูลไปปรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 15 – 39 ปี และอาศัยในกรุงเทพ จำนวน 12 ท่าน ร่วมกับการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเมืองไทย 6 ท่าน ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Quantitative Analysis) จากฐานข้อมูลของมายด์แชร์และอื่นๆ ซึ่งได้แก่ Mindshare 3D, Euromonitor, MillwardBrown, Nielsen, eMarketer, Google และ Comscore เป็นต้น

คุณสุวิมล จุนพึ่งพระเกียรติ์ ผู้อำนวยการการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ กล่าวว่า “ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือไม่ วันนี้คุณต้องรู้จักกับคำว่า O2O (โอทูโอ หรือ Online to Offline) คือ การใช้อิทธิพลของสื่อออนไลน์ผลักดันให้เกิดยอดขายทางออฟไลน์ เป็นการผสาน ดิจิตัลเทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย และมือถือ เพื่อสร้างยอดขายผ่านกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดรับกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ก้าวล้ำไปตามเทคโนโลยี โดยปีที่ผ่านมาคนไทยมีการซื้อสินค้าทางออนไลน์ถึงกว่าแสนห้าหมื่นล้านบาทหรือประมาณ 5% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด และในขณะเดียวกันการซื้อสินค้าทางออฟไลน์ ก็ยังได้รับอิทธิพลจากสื่อออนไลน์มากถึง 80% โดยผู้บริโภคมีการ ”ศึกษาและเลือกซื้อ” สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงแต่ไปจ่ายเงินและรับสินค้า ณ จุดขาย ถึงเวลาแล้วที่นักการตลาดจะต้องคิดและทำอย่างแตกต่าง โดยใช้หลักการของ Adaptive Marketing ที่เน้นการปรับกิจกรรมการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บนพื้นฐานของข้อมูลที่รวดเร็วและเหนือชั้น

อีคอมเมิร์ซไทยเดินมาถึงจุดโค้งเปลี่ยนที่สำคัญ เป็นผลจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ

1) การขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทั่วประเทศ

2) จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3) กระแสนิยมโซเชียลมีเดีย

8 ยุทธวิธีในการเชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์มาสู่ออฟไลน์ (O2O)

1. เชื่อมต่อเครื่อข่ายการสื่อสารจากออนไลน์มาออฟไลน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ลื่นไหลในทุกจุดสัมผัสที่ลูกค้ามีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์

2. ใช้แพลตฟอร์มมือถือเป็นศุนย์กลางในการเชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์มาสู่ออฟไลน์ และรองรับความต้องการซื้อของผู้บริโภค

3. ใช้เสิร์ช (Search) เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน และเพิ่มโอกาสในการขยายกลุ่มลูกค้าในอนาคต

4. “ฟัง” สิ่งที่ลูกค้าพูด “รับรู้” สิ่งที่ลูกค้าคิด และ “แก้ไข” ความคิดเห็นต่อแบรนด์ในเชิงลบ ด้วย Social Buzz Listening

5. แทรกตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งในบทสนทนา สร้างแบรนด์ให้มีชีวิตและเป็น “เพื่อนสนิท” ของลูกค้าผ่าน Earned Media

6. ทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลไปยังกลุ่มเป้าหมาย ด้วยกลยุทธ์ Digital Micro Segmentation

7. เปลี่ยนลูกค้าขาประจำให้เป็น “แฟนพันธุ์แท้ ” สร้างปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ คอยสนับสนุนและส่งเสริมการบอกต่อๆ ผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์ค

8. ประมวลผลจากข้อมูลหลายด้าน เพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และพร้อมที่จะตัดสินใจปรับแผนอย่างทันท่วงทีตามแนวทาง Adaptive Marketing

ขอบคุณข่าวจาก: ryt9.com

Like

สร้างเว็บไซต์ให้ธุรกิจ

ทำการตลาดออนไลน์เพิ่มยอดขาย

สนใจรับคำแนะนำบริการ
เพิ่มเพื่อนในไลน์

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ลูกค้าใหม่

ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2025
Vevo Systems Co., Ltd.