×
การเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง

        เมื่อทำการบันทึกการตั้งค่าเรียบร้อย คุณสามารถเข้าไปเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูงได้ตามวิธีปรกติ โดยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

        1. ให้คุณมาที่เมนู “สินค้า” เลือกเมนูย่อย “เพิ่มสินค้า” ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 1

รูปที่ 1 การเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง


        2. ภายหลังการคลิกเพิ่มสินค้า ระบบจะแสดงส่วนการเพิ่มสินค้า ระบบจะแสดงพื้นที่การระบุข้อมูลสินค้า ให้คุณระบุข้อมูลของสินค้าที่ต้องการประกาศขายในหน้าร้านค้าออนไลน์ ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 2

รูปที่ 2 หน้าการเพิ่มสินค้าแบบขั้นสูง


โดยข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้

        ชื่อสินค้า : กำหนดชื่อสินค้าที่ต้องการขาย

        รหัสสินค้า : กำหนดรหัสสินค้า

        รูปภาพสินค้า : คุณสามารถเพิ่มรูปภาพของสินค้าได้โดย “เลือกไฟล์” (หมายเลข 1) เมื่อเลือกรูปภาพเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก “Upload” (หมายเลข 2) ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 3

รูปที่ 3 การเพิ่มรูปภาพของสินค้า


        จากนั้นระบบจะทำการนำเข้ารูปภาพสินค้า และแสดงข้อมูลภาพสินค้า ในกรณีที่ต้องการให้ภาพสามารถขยายได้เมื่อลูกค้าเข้าชมให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “ขยาย?” และถ้าต้องการให้ใช้ภาพขนาดจริงในการแสดงผลให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “ขนาดเต็ม?” ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 4

รูปที่ 4 การนำเข้ารูปภาพสินค้า


        เมื่อทำการอัพโหลดภาพเรียบร้อยแล้ว ด้านหลังของภาพ จะมีคำว่า “Set as Primary” ระบบตะกร้าออนไลน์ของเรามีการนำเสนอภาพ 2 มุมมองที่หน้าเว็ปไซต์ร้านค้าออนไลน์ ดังนั้น ท่านต้องการให้ภาพใดแสดงเป็นภาพแรกที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ให้คลิกที่คำว่า Set as Primary (หมายเลข 1) จากนั้นที่ใต้ภาพนั้น จะมีสัญลักษณ์ตัว P ปรากฏอยู่ด้านล่าง (หมายเลข2) และเมื่อลูกค้านำเมาส์ไปชี้ที่สินค้านั้น ท่านต้องการให้ภาพใดแสดงเป็นภาพที่ 2 ให้พิมพ์เลข 1 ลงไปใต้ภาพนั้น (หมายเลข 3) ดังตัวอย่างรูปที่ 5 

รูปที่ 5 การนำเสนอภาพ 2 มุมมองในหน้าเว็บไซต์


        รายละเอียดสินค้า : พื้นที่ของการกำหนดข้อมูลให้กับสินค้า โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

                - รายละเอียดสินค้าอย่างย่อ : กำหนดรายละเอียดของสินค้า ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า (ข้อมูลส่วนนี้จะปรากฏคู่กับภาพสินค้า และการดูข้อมูลอย่างย่อ)รูปที่ 6

รูปที่ 6 การปรากฏรายละเอียดอย่างย่อของสินค้า


                - รายละเอียดสินค้าโดยละเอียด : กำหนดรายละเอียดให้กับสินค้า โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น (ซึ่งข้อมูลนี้จะปรากฏเมื่อคลิกที่ตัวสินค้า) รูปที่ 7

รูปที่ 7 การปรากฏรายละเอียดสินค้าโดยละเอียด


        ประเภทของสินค้า : กำหนดประเภทของสินค้า ว่าสินค้าชิ้นนี้จะเป็นประเภท สินค้าใหม่ สินค้าขายดี หรือสินค้าแนะนำ (สามารถกำหนดได้มากกว่า 1)

                - เป็นสินค้ามาใหม่ : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้ามาใหม่หรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้ามาใหม่ ให้  ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องเป็นสินค้ามาใหม่

                - เป็นสินค้าขายดี : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าขายดีหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าขายดี ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องเป็นสินค้าขายดี

                - เป็นสินค้าแนะนำ : ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าแนะนำหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการให้แสดงเป็นสินค้าแนะนำ ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องเป็นสินค้าแนะนำ

        หมวดหมู่ : กำหนดหมวดหมู่สินค้าให้กับตัวสินค้า โดยการคลิกเลือกหมวดสินค้าที่ต้องการ (เลือกได้มากกว่า 1 หมวด) ดังรูปตัวอย่างรูปที่ 8

รูปที่ 8 การกำหนดหมวดหมู่สินค้าให้กับตัวสินค้า


        แผนก : กรณีที่ต้องการกำหนดแผนกให้กับสินค้า คุณสามารถคลิกเลือกแผนสินค้าที่ต้องการได้

        คุณสมบัติสินค้า : กรณีที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติให้กับสินค้าเพิ่มเติมสามารถเพิ่มข้อมูล ผู้ผลิต, รุ่น, รหัสจากผู้ผลิต และ UPC ได้

        ขนาด : กรณีที่ต้องการกำหนดขนาดของสินค้า ความยาว ความกว้าง ความสูง และน้ำหนัก

        ข้อมูลจำเพาะ : กรณีที่ต้องการกำหนดข้อมูลจำเพาะให้กับสินค้า

        ระบบสต็อกสินค้า : กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนสินค้าที่มีในสต็อก คุณสามารถเลือกใช้งานได้ ในกรณ๊ที่เลือกใช้งานระบบสต็อกสินค้า คุณต้องระบุจำนวนสินค้าที่มี ในส่วนจำนวนสินค้าในสต็อก

        ตัวเลือกสินค้า : เลือกตัวเลือกของสินค้าจากกล่องตัวเลือกที่คุณได้สร้างขึ้น เพื่อทำการกำหนดตัวเลือกของสินค้าที่ต้องการให้ลูกค้าเลือก เช่นสินค้าเป็นกระโปรง และต้องการให้ลูกค้าเลือกสีของกระโปรงที่ต้องการซื้อ ดังนั้นเมื่อคุณได้สร้างตัวเลือกสินค้าไว้เป็นที่เรียบร้อย ต้องเลือกนำมาใช้งานด้วยเช่นกัน

โดยขั้นตอนการใช้ตัวเลือกสินค้ามีดังนี้

        เปิดใช้งาน? : กรณีเลือกใช้งานตัวเลือกใด ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “เปิดใช้งาน?”

        รูปภาพ : กรณีที่ต้องการให้รูปแสดงตรงกับตัวเลือกย่อยที่ลูกค้าเลือกสามารถ ใส่ภาพสินค้าได้โดยทำเครืองหมายถูกที่รูปภาพ ของตัวเลือกสินค้าที่ต้องการ ดังตัวอย่างรูปที่ 9

รูปที่ 9 กรณีที่ต้องการให้รูปแสดงตรงกับตัวเลือกย่อย


        หากคุณทำเครืองหมายถูกที่รูปภาพ ระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณเลือกไฟล์รูปภาพมาใส่ให้กับตัวเลือกย่อยที่มี คุณสามารถเลือกภาพเพื่อแสดงให้ตรงกับตัวเลือกย่อยนั้น ดังตัวอย่างรูปที่ 10

รูปที่ 10 การเลือกภาพประกอบตัวเลือกของสินค้า


        ซึ่งภาพที่คุณอัพโหลด เมื่อลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้า เช่น กระโปรงแฟชั่น ซึ่งมีตัวเลือก สีขาว สีดำ สีเขียวอ่อน หากลูกค้าคลิกเลือกสีเขียวอ่อน ระบบจะแสดงเป็นรูปกระโปรงสีเขียวอ่อน ดังตัวอย่างรูปที่ 11

รูปที่ 11 การแสดงภาพที่ตรงกับตัวเลือกนั้น


        สต๊อก : กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี สามารถทำได้ โดยทำเครื่องหมายถูกที่สต๊อก ของตัวเลือกสินค้าที่ต้องการ จากนั้นระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณระบุจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี ดังตัวอย่าง รูปที่ 12

รูปที่ 12 กรณีที่ต้องการกำหนดจำนวนชิ้นสินค้าตามตัวเลือกย่อยที่มี


        หากคุณทำเครืองหมายถูกที่สต็อก ระบบจะแสดงพื้นที่ให้คุณใส่จำนวนสต็อกของตัวเลือกสินค้าที่คุณได้เลือก  ดังตัวอย่างรูปที่ 13

รูปที่ 13 ใส่จำนวนสต็อกของตัวเลือกสินค้าที่คุณได้เลือก 


        กำหนดราคาสินค้า : พื้นที่ของการกำหนดราคาให้กับสินค้า

โดยการกำหนดราคาสินค้าสามารถทำได้ดังนี้

                ติดต่อเพื่อสอบถามราคา :  ในกรณีที่ไม่ต้องการแสดงราคาสินค้า โดยให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าสอบถามราคากับทางเจ้าของร้านค้าโดยตรง ให้คลิกเพื่อทำเครื่องหมายในวงกลมด้านหน้า

                กำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้า : กรณีที่คุณต้องการกำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้า

                ราคาทั้งหมดรวม Vat จะแบ่งเป็น

                        ราคารวม Vat : กำหนดราคาขายจริงให้กับสินค้า โดยเป็นราคาขายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

                        ราคาขายปลีก : กำหนดราคาขายปลีกให้กับตัวสินค้า

รูปที่ 14 การกำหนดราคาสินค้า


        การคำนวณค่าจัดส่ง : ในกรณีที่สินค้า ดังกล่าวต้องมีวิธีคำนวณค่าจัดส่งเฉพาะสินค้าชิ้นนี้ คุณสามารถกำหนดค่าจัดส่งได้ดังนี้  (รูปที่ 15)

        จัดส่งฟรี? : กรณีที่คุณต้อวการให้สินค้าชิ้นนี้เป็นสินค้าที่ไม่มีการคิดค่าจัดส่ง

        กำหนดค่าขนส่ง : กรณีที่คุณต้องการกำหนดค่าขนส่งพิเศษสำหรับสินค้าชิ้นนี้ สามารถกำได้จากรายการขนส่งที่ต้องการได้

รูปที่ 15 การคำนวณค่าจัดส่งสินค้า


        SEO : ในส่วนพื้นที่ของ SEO ซึ่งในส่วนพื้นที่นี้หากคุณเว้นว่างไว้ ระบบจะดึงค่ามาตรฐานของร้านค้าของคุณมากำหนดให้ ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ข้อมูลจากค่ามาตรฐานคุณสามารถจัดการข้อมูลใหม่ได้ ดังตัวอย่างรูปที่ 16

โดยรายละเอียดมีดังนี้

                TiTle : คือส่วนแท็บด้านบนของเว็บไซต์เป็นพื้นที่กำหนดคำค้นหา ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้าเว็บเพจ

                Keyword : กรณีที่คุณต้องการแนะนำคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เพื่อให้ search engine ทราบถึงข้อมูลคำค้นหา ที่คุณต้องการแนะนำตัวด้วยคำค้นหาใด

                Meta Description : เป็นการอธิบายรายละเอียดอย่างย่อของเว็บเพจให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย

รูปที่ 16 พื้นที่ SEO


        สถานะสินค้า : กำหนดสถานะของสินค้า โดยมีให้เลือกใช้งาน 2 สถานะคือ

                เผยแพร่ : ต้องการเปิดใช้งานสินค้าเพื่อลูกค้าสามารถเลือกซื้อผ่านหน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของคุณ

                บันทึกร่าง : จัดเก็บข้อมูลสินค้าไว้ในระบบก่อน ยังไม่เปิดให้ใช้งาน

        3. เมื่อใส่รายละเอียดข้อมูลสินค้าที่ต้องการจนครบถ้วน (โดยเฉพาะข้อมูลที่มีเครื่องหมายดอกจันสีแดง *ให้คุณคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มสินค้า” เพื่อทำการบันทึกและแสดงสินค้าที่หน้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ดังตัวอย่างรูปที่ 17


รูปที่ 17 ปุ่มเพิ่มสินค้า


        4. เมื่อมาที่หน้าร้านค้าออนไลน์ คุณจะพบสินค้าที่คุณได้เพิ่มในระบบ ทั้งรูปภาพและรายละเอียดของสินค้า ดังตัวอย่างรูปที่ 18

รูปที่ 18 ตัวอย่างสินค้าที่คุณได้เพิ่มลงในร้าน

ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.